ปรัชญาโรงสี (ตอนที่ 4)
สวัสดีค่ะ วันนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของทความ "ปรัชญาโรงสี"กันแล้วนะคะ จะมีเทคนิคดี คำแนะนำใหม่ๆที่สามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างและบริหารธุรกิจโรงสีได้ เพื่อความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้ากับพี่น้องธุรกิจโรงสีข้าว ให้มั่นคง มั่งคั่ง กันทุกโรงสีเลยค่ะ

การมีอัธยาศัยดี
การมีอัธยาศัยที่ดี พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาพบปะกับลูกค้าหรือผู้ซื้อนั้น เป็นประตูสู่ความสำเร็จอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่ากิจการโรงสีข้าวนั้นต้องพบปะผูคนในเกือบทุกๆวงการธุรกิจเลยก็ว่าได้ หากเราไม่มีอัธยาศัยที่ดีในการติดต่อเจรจาทำธุรกิจนั้น อาจทำให้เราเสียลูกค้าก็เป็นได้ มีเถ้าแก่โรงสีท่านหนึ่ง ได้สอนให้พนักงานในออฟฟิตทุกคนยกมือไหว้สวัสดีกับชาวเกษตรกรที่นำข้าวมาขายที่โรงสีทุกคน เพราะเกษตรกรคือผู้มีพระคุณกับโรงสี เขาปลูกข้าวแล้วส่งมาให้เราขาย ให้เราไม่มีงานทำ มีเงินเดือนเลี้ยงครอบครัว ถ้าไม่มีชาวนา เราก็ไม่มีข้าวขาย เมื่อไม่มีข้าวขาย เราก็จะไม่มีงานทำ ไม่มีเงินเดือนไปเลี้ยงครอบครัว ยิ่งกว่านั้นเราต้องออกไปติดต่อกับชาวนาถึงนาข้าวเพื่อซื้อข้าวของพวกเขาเองด้วย ฉะนั้น เราควรดูแลชาวเกษตรกรเป็นอย่างดี ในทุกครั้งที่นำข้าวมาขายให้กับเรา
พนักงานฝ่ายผลิต (คนปล่อยข้าว, คนคุมเครื่อง, คนขับรถตัก, รถโฟล์คลิฟ) ทุกตำแหน่งคือส่วนหนึ่งของธุรกิจที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น เราควรอบรม แนะนำ วิธีการต่างๆในทุกขั้นตอนการผลิตอย่างใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป ให้พนักงานทำความเข้าใจต่อหน้าที่ให้มาก และระมัดระวังการเกิดความเสียหายในระหว่างการผลิตให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายต่อข้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างรายได้
"กับลูกค้า ทุกท่านคือผู้มีพระคุณ เพราะถ้าเราไม่มีลูกค้าเราก็ไม่มีธุรกิจ การยิ้มแย้มแจ่มใส ให้เกียรติกับทุกคนเป็นเรื่องที่ดี ก็เหมือนกับการต้อนรับแขกด้วยความเต็มใจและเป็นมิตร แขกที่ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีก็พลอยชื่นใจ แจ่มใส บรรยากาศการทำธุรกิจก็ดีไปด้วยเช่นกัน สิ่งที่จะได้รับตามมามีค่าและยิ่งใหญ่มากกว่าที่คุณคิดไว้อีกด้วย"
การอยู่กับปัจจุบัน
เมื่อกิจการดี การสีข้าวไม่ทันก็เก็นว่าร้านสี (เครื่องสีข้าวในโรงสีเราจะเรียกว่าร้านสี) ผลิตไม่ทันใจ ต้องการขยายให้สีข้าวได้มากกว่าเดิมอีกสักหน่อย บางทีคิดว่าน่าจะไปสร้างโรงสีใหม่อีกซักที่ ทุกคนที่มีโรงสีก็คิดแบบเดียวกัน ปัจจุบันกำลังผลิตของโรงสีข้าวนำมาคิดรวมกันนั้นมากกว่าข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกได้ประมาณ 3 เท่า เรียกว่าหนึ่งปีสีข้าวได้ 3-4 เดือนเท่านั้น หมายความว่าจะต้องมีหลายโรงสีไม่ได้สีข้าวหรือสีข้าวได้ไม่ครบปี ไม่ได้เวลาคุ้มกับการลงทุน ในวิกฤตมีโอกาส การจะเพิ่มโรงสีต้องกลับไปอ่านบทแรกๆที่ว่า ทำเล ส่วนแบ่งการตลาด ความสามารถเฉพาะตัว เพราะว่าคนไม่ใช่เครื่องจักร เราสามารถสร้างร้านสีขนาดใหญ่เท่าไหร่ก็ได้ แต่บางท่านคิดไม่ถี่ถ้วน หรือคิดไว้แล้วแต่ก็ไม่ได้อย่างที่คิดไว้ในการทำงานทุกเรื่องย่อมมีปัญหาในตัวของมันเองอยู่แล้ว ผู้บริหารโรงสีข้าวท่านหนึ่งเคยพูดให้ฟังว่า หากคุณสร้างโรงสีขนาด 1,000 ตันต่อข้าวเปลือก 24ชั่วโมง ท่านต้องมีรถขนส่งในการนำวัตถุดิบส่งต่อวันวันละกี่คัน และต้องใช้รถขนส่งจำนวนกี่รอบต่อวันในการขนส่งวัตถุดิบออกสู่ตลาด ข้าวเปลือกหนึ่งเมล็ดจะได้สินค้าที่ได้จากการแปรรูป 10 ชนิด และปัญหาในการเลือกซื้อข้าวเปลือก ปัญหาในการส่งมอบ ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ว่าไม่สนับสนุน แต่เพียงอยากให้ท่านคิดให้รอบคอบ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการขาดทุนขึ้น

ลูกคิดรางแก้ว
ในอดีตโรงสีข้าวจะมีหลงจู๊ คอยคิดคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆในโรงสีโดยใช้ลูกคิดในการคำนวณ เสียงลูกคิดเวลากระทบกันจะเกิดวคามไพเราะและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง จึงมีคำกล่าวว่าเป็นลูกคิดรางแก้ว โรงสีข้าวในอดีต ซื้อข้าวเปลือกต้นปี เก็บไว้ปลายปีเป็นข้าวเก่า (ข้าวเปลือกที่อายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปเราเรียกว่า ข้าวเก่า) นำมาสีขายบริโภคภายใน ราคาก็พอมีกำไร ทำการค้าไม่ยาก แต่ในยุคที่เทคโนโลยีทันสมัยขึ้น การส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือง่ายขึ้น ทำให้ได้รับข้อมูลรวดเร็วทันใจ ส่วนกำไรก็ลดลง การต่อรองราคาก็เข้มข้นขึ้น ผู้ขายมีมากกว่าผู้ซื้อ การลงทุนข้าวเปลือก เกวียนละหมื่อนกว่าบาท ผลกำไรลดหักค่าใช้จ่ายทุกรายการแล้วมีกำไรไม่มากนัก ลูกคิดรางแก้วเสียงเงียบไป เครื่องคิดเลขมาแทนที่ ต่อขยายตลาด แข่งกับยักษ์ใหญ่ที่ลงมาขายเอง การส่งออกก็เปลี่ยนรูปแบบจากการซื้อครั้งละมากๆ มาเป็นการซื้อจำนวนเล็กลงแต่ซื้อมากคุณภาพขึ้น โรงสีขนาดใหญ่หลายโรงสีพัฒฯามาเป็นผู้ส่งออกเอง
ทุกคนมีสิทธิจะฝัน