"สี่ประสาน...ในร้านสี" (ตอนที่ 1)
การสีข้าวนั้น ไม่ได้มีเครื่องอุปกรณ์เท่านั้นก็สีข้าวได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "คน" เพราะถ้าไม่มีคนที่เอาใจใส่ดูแลเครื่องและปรับเครื่องให้อยู่ในสภาวะการทำงานที่ดี แม้ว่าเครื่องจะดีขนาดไหนก็ไม่ีมความหมาย หัวใจของโรงสีข้าวนั้นต้องมี "สี่ประสาน" จึงจะเรียกว่าสมบูรณ์ "สี่ประสาน" ในที่นี้หมายถึง
1. พนักงานที่มีความสามารถ
2. เครื่องจักรที่มีคุณภาพ (เหมาะกับข้าวเปลือกและข้าวสารที่กำลังสีอยู่)
3. การติดตั้งที่ดี (ระบบการทำงานที่ไม่ซับซ้อน)
4. วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี
ในวันนี้ เราจะพาไปรู้จักกับ ข้อที่ 1 กันค่ะ
พนักงานที่มีความสามารถ
ปัจจุบันเรามักจะได้ยินบ่อยๆ คือ "คนงานหายาก" ผมไม่มีคนเป็น, ผมหาคนที่ทำงานดีๆไม่ได้, ไม่มีคนใช้หินโคนได้ เหล่านี้คือวลีได้ยินทั่วไป
แล้วความจริงคือ เราไม่ได้มีการสร้างบุคลากรที่มีความรู้เรื่องการสีข้าวมาเลย เรามีมหาวิทยาลัยสอนสาขาวิชาชีพมากมาย แต่มีเพียงไม่กี่แห่งที่มีการสอนเรื่องการสีข้าว หรือที่เราเรียกทางวิชาการว่า "เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว" ที่เห็นได้และมีผลงานเป็นรูปธรรมอยู่คือ สถาบันราชมงคลวิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี ซึ่งผู้เขียนคือตัวกระผมเองได้เข้ารับการอบรมในวิชา "เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว" กับท่านอาจารย์ ผ.ศ.ผดุงศักดิ์ วานิชชัง เมื่อหมายปีที่ผ่านมา ซึ่งท่านได้ให้ความรู้เรื่องการจัดการข้าวเปลือกตั้งแต่อยู่ในท้องนา ผ่านการอบลดความชื้น การทำความสะอาด การเก็บรักษา การสีข้าว การบรรจุ การส่งมอบลูกค้า

เริ่มจาก.....ข้าวเปลือกที่ยังอยู่ที่ต้นข้าวในท้องนา ควรที่จะเกี่ยวเมื่อไร?
อายุของข้าวเปลือกที่ยังติดอยู่ต้นข้าว เทคนิคการใช้เครื่องเกี่ยวที่ดี เสียหายน้อย การอบลดความชื้นจริงๆแล้วมีอยู่ 2 แบบ คือ อบเพื่อจะนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวและที่โรงสีดำเนินการอยู่คืออบเพื่อจะนำไปสีเป็นข้าวสาร เราจะพูดถึงการอบเพื่อจะนำไปสีเป็นข้าวสารคุณภาพดี จมูกข้าวสวย ผิวพรรณของข้าวสารขาวสวย (แบบหมวยและอึ๋ม) จมูกดี อวบอิ่มเต็มเมล็ด ต้องใช้เครื่องอบลดความชื้นที่ดี การให้ความร้อนต้องสม่ำเสมอ ไม่สูงเกินไป ใช้เวลาในการอบที่เหมาะสมกับข้าวเปลือกที่กำลงัทำการอบอยู่ในเวลานั้น การอบแบบเร็วเพื่อให้ข้าวเปลือกแห้งเร็ว อบได้มาก แต่เมื่อข้าวเปลือกแห้งแล้วนำมาเก็บสต็อกไว้ในยุ้ง ไม่นานความชื้นก็จะกลับมา ข้าวท่านก็จะเหลืองเร็ยว เหลืองง่ายทั้งๆที่ท่านคิดว่าไม่น่าจะเหลือง อะไรที่เร็วๆทันใจวัยรุ่น ไม่เหมาะกับการอบข้าวเปลือกโดยเฉพาะข้าวเปลือกนาปี ที่ต้องใช้เวลาเก็บสต็อกนานเพื่อให้เป็นข้าวเก่าใช้บริโภคภายในประเทศ เพราะว่าถ้าท่านศึกษาธรรมชาติของข้าวเปลือกนั้น ความชื้นหรือน้ำจะอยู่กับเนื้อข้าวภายใน การอบข้าวให้ความร้อนจากด้านนอกในเวลาสั้นๆ เปลือกข้าวจะแห้ง (ร้อนมากและดูเหมือนแห้ง) แต่ข้าวสารที่อยู่ภายในกำลังดูดซับความร้อนและคายความชื้นออกมาทีละน้อยอย่างช้าๆ ถ้าความร้อนมากเกินไปข้างสารจะแตกร้าวเพราะทนความร้อนไม่ได้ ข้าวก็จะป่น การที่เราเว้นช่วงประมาณ 8-10 ชั่วโมงก็เพื่อให้ข้าวเปลือกได้คืนตัวให้ความร้อนแทรกเข้าไปในเมล็ดข้าวและคายน้ำออกจากเมล็ดข้าว ข้าวเปลือกจึงจะแห้งอย่างแท้จริง (เราจึงมีตู้เป่าเย็น)

เครื่องอบมีหลายยี่ห้อ หลายโรงงาน ซึ่งแต่ละแห่งเขาก็มีโฆษณาว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ท่านต้องเลือกเองใช้วิจารณญาณในการเลือก เพราะว่าราคาชุดหนึ่งๆแพงกว่ารถเบนซ์ หลายเท่า ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ยังไม่ได้เข้าเรื่องคน เครื่องอบจะดีอย่างไร อัตโนมัติขนาดไหนก็ไม่สามารถทำงานได้ (ได้ดี) หากว่าไม่มีพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ (ต้องรู้เครื่อง รู้ข้าว รู้คน)
หลังจากรู้เรื่องการอบลดความชื้นแล้ว ก็มาถึงการเก็บรักษา มีหลายท่านซึ่งเข้าร่วมสัมมนาด้วยกันตั้งคำถามว่า ระหว่างไซโลกลมๆเป็นเหล็กสวยงาม สะดวก มีอุปกรณ์ตัวช่วยเยอะแยะจะเก็บข้าวเปลือกได้ดี หรือว่ายุ้งปูนซีเมนต์ ปัจจุบันได้มีการทำทางลมใต้พื้นยุ้ง เพื่อเป่าลมเข้าไประบายความร้อนซึ่งเทคนิคที่ดีมากและปัจจุบันได้นำไปใช้กันทุกโรงสีแล้วซึ่งได้ผลที่พอใจ

ทีนี้ก็มาถึงเรื่องเครื่องจักรในร้านสี ในยุคที่นายกรัฐมาตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร นโญบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน ใหเโอกาสในการลงทุนกระทรวงพาณิชย์ตั้งเงื่อนไขให้มีการรับจำนำข้าวเปลือก มีการเช่าโกดังเพื่อเก็บข้าวสาร ทำให้เกิดการลงทุนอย่างมากมายฉุด GDP ของประเทศขึ้นสูงอย่างมากในวงการข้าวเปลือก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โรงสีเดิมขยายกำลังผลิตท่าข้าว ตลาดกลางข้าวเปลือกเร่งสร้างโรงสีเพื่อจะได้มีโอกาสรับจำนำข้าวเปลือก บ้างก็เร่งสร้างโกดังขนาดใหญ่เพื่อรับฝากข้าวสาร ทั้งหลายทั้งปวงนี้จึงทำให้วงการเครื่องจักรอุปกรณ์โรงสีข้าวคึกคักและขยายตัวอย่างมาก เครื่องจักรทั้งในและต่างประเทศเรียงหน้ากันมาให้เลือก ค่ายยุโรป ค่ายเอเซีย และในประเทศผู้ซื้อจึงมีโอกาสเลือกได้มาก การขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรงสีข้าว ทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรในร้านสี (คนปล่อยข้าว) ทุกโรงสีบอกว่ามีความสามรถสร้างโรงสีให้ทันสมัยอย่างไรก็ได้ แต่หาคนปล่อยข้าวยากมาก การที่ขาดบุคลากรในโรงสีอย่างนี้ผลมาจากรัฐบาลไม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในอุตสาหกรรมการสีข้าวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทยเรา ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติให้ทุกคนศึกษากันเองแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงสีไหนที่ฝึกฝน ให้ความรู้กับพนักงานได้ดีก็ได้ พนักงานที่ดี ที่ไม่มีพื้นฐานก็ต้องใช้วิชาครูพักลักจำกว่าที่จะมีความรู้ก็ต้องแลกด้วยความเสียหายของข้าวเปลือก ข้าวสาร ซึ่งเป็นเงินของประเทศชาติไปเป็นจำนวนมาก รัฐควรที่จะต้องให้ความสนใจเรื่องเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวให้มาก ปีหนึ่งๆเราเพาะปลูกข้าวได้ทั้งนาปรัง และนาปีรวม 23 ล้านตัน ข้าวเปลือกถ้าข้าวเปลือกทั้งข้าวหอมมะลิ หอมปทุม สุพรรณ ชัยนาท และข้าวเหนียว ราคาเฉลี่ย 70,000 - 151,000 ล้านบาท นี่คิดเฉพาะค่าข้าวเปลือก ยังไม่ได้คิดเป็นราคาข้าวสาร และธุรกิจที่ต่อเนื่องจากข้าวเปลือกอีกมากมาย ส่วนหนึ่งก็ส่งออกไปขาย ไทยเราติดอันดับที่ส่งออกข้าวสารเลี้ยงพลเมืองมากกว่าครึ่งโลกทำเงินรายได้เข้าประเทศแบบเต็มๆ กว่า 50,000,000 บาท ถ้าเกษตรกรชาวนา ทำได้ดีขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ โรงสีข้าวลดการเสียหายจากการสีข้าวอีก 10 เปอร์เซ็นต์ คิดดูว่าจะเป็นเงินมากมายมหาศาลเพียงใด แต่ก็ไม่มีใครที่นำมาคิดเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาบุคคล สโลแกนที่ใช้กันทั่วโลก คอ พัฒนาคน แล้วก็พัฒนาชาติ
อีกเรื่องหนึ่งที่น่านำมาคิด คือปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง (ไม่ใช่ทุกแห่ง) ได้ใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งถ้ามองระยะสั้นอาจจะดี เพราะไม่มีแรงงานของไทยเราทำงานบางประเภท แต่ถ้ามองยาวแล้ว การพัฒนาของชาติจะแย่ลงเพราะไม่มีการพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ